ยินดีต้อนรับสู่ เว็บความรู้เรื่องหลักสูตรภาษาไทยของครูวาส โรงเรียนราชมนตรี(ปลื้มเชื่อมนุกูล)

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง ภาษาไทยชั้น ป.๔

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
สาระที่ ๑ การอ่าน

มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน
ตัวชี้วัด
๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและ บทร้อยกรองได้ถูกต้อง
๒. อธิบายความหมายของคำ ประโยค และสำนวนจากเรื่องที่อ่าน
๓. อ่านเรื่องสั้นๆ ตามเวลาที่กำหนดและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน
๔. แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น จากเรื่องที่อ่าน
๕. คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านโดยระบุเหตุผลประกอบ
๖. สรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน
๗. อ่านหนังสือที่มีคุณค่าตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
๘. มีมารยาทในการอ่าน

สาระการเรียนรู้แกนกลาง
๑ การอ่านออกเสียงและการบอกความหมายของบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองที่ประกอบด้วย
- คำที่มี ร ล เป็นพยัญชนะต้น
- คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ
- คำที่มีอักษรนำ
- คำประสม
- อักษรย่อและเครื่องหมายวรรคตอน
- ประโยคที่มีสำนวนเป็นคำพังเพย สุภาษิต ปริศนาคำทาย และเครื่องหมายวรรคตอน
๒ การอ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ
๓ การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น
- เรื่องสั้น ๆ
- เรื่องเล่าจากประสบการณ์
- นิทานชาดก
- บทความ
- บทโฆษณา
- งานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- ข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน
- สารคดีและบันเทิงคดี
๔ การอ่านหนังสือตามความสนใจ เช่น
- หนังสือที่นักเรียนสนใจและเหมาะสมกับวัย
- หนังสือที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน
๕ มารยาทในการอ่าน

สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
๑. คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด
๒. เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้องชัดเจน และเหมาะสม
๓. เขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน
๔. เขียนย่อความจากเรื่องสั้นๆ
๕. เขียนจดหมายถึงเพื่อนและบิดามารดา
๖. เขียนบันทึกและเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า
๗. เขียนเรื่องตามจินตนาการ
๘. มีมารยาทในการเขียน
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
๑ การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย
๒ การเขียนสื่อสาร เช่น
- คำขวัญ
- คำแนะนำ
๓ การนำแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดไปพัฒนางานเขียน
๔ การเขียนย่อความจากสื่อต่างๆ เช่น นิทาน ความเรียงประเภทต่างๆ ประกาศ จดหมาย คำสอน
๕ การเขียนจดหมายถึงเพื่อนและบิดามารดา
๖ การเขียนบันทึกและเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า
๗ การเขียนเรื่องตามจินตนาการ
๘ มารยาทในการเขียน

สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

ตัวชี้วัด
๑. จำแนกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู
๒. พูดสรุปความจากการฟังและดู
๓. พูดแสดงความรู้ ความคิดเห็น และความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู
๔. ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลจากเรื่องที่ฟังและดู
๕. รายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา
๖. มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
๑ การจำแนกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู ในชีวิตประจำวัน
๒ การจับใจความ และการพูดแสดงความรู้ ความคิดในเรื่องที่ฟังและดู จากสื่อต่างๆ เช่น
- เรื่องเล่า
- บทความสั้นๆ
- ข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน
- โฆษณา
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์
- เรื่องราวจากบทเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
๓ การรายงาน เช่น
- การพูดลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- การพูดลำดับเหตุการณ์
๔ มารยาทในการฟัง การดู และการพูด

สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
ตัวชี้วัด

๑. สะกดคำและบอกความหมายของคำในบริบทต่างๆ
๒. ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
๓ ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ
๔. แต่งประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา
๕. แต่งบทร้อยกรองและคำขวัญ
๖. บอกความหมายของสำนวน
๗. เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่นได้
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
๑ คำในแม่ ก กา
๒ มาตราตัวสะกด
๓ การผันอักษร
๔ คำเป็นคำตาย
๕ คำพ้อง
๖ ชนิดของคำ ได้แก่
- คำนาม
- คำสรรพนาม
- คำกริยา
- คำวิเศษณ์
๗ การใช้พจนานุกรม
๘ ประโยคสามัญ
- ส่วนประกอบของประโยค
- ประโยค ๒ ส่วน
- ประโยค ๓ ส่วน
๙ กลอนสี่
๑๐ คำขวัญ
๑๑ สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต
๑๒ ภาษาไทยมาตรฐาน
๑๓ ภาษาถิ่น

สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
ตัวชี้วัด
๑. ระบุข้อคิดจากนิทานพื้นบ้านหรือนิทานคติธรรม
๒. อธิบายข้อคิดจากการอ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง
๓. ร้องเพลงพื้นบ้าน
๔. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
สาระการเรียนรู้แกนกลาง

๑ วรรณคดีและวรรณกรรม เช่น
- นิทานพื้นบ้าน
- นิทานคติธรรม
- เพลงพื้นบ้าน
- วรรณคดีและวรรณกรรมในบทเรียนและตามความสนใจ
๒ เพลงพื้นบ้าน
๓ บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า
- บทอาขยานตามที่กำหนด
- บทร้อยกรองตามความสนใจ